เหนือกว่าการนำกลับมาใช้ใหม่

3 มกราคม 544

พัฒนาเศษวัสดุอย่างสร้างสรรค์ให้มีมูลค่า ได้อย่างไร

การเปลี่ยนขยะให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่า

เราทุกคนคุ้นเคยกับแนวความคิดเรื่องการนำกลับมาใช้ใหม่ (รีไซเคิล) บริษัทที่มีความชำนาญสามารถดึงเอาผลิตภัณฑ์ใช้แล้ว เช่น ขวดพลาสติก กลับมาแปรรูป โดยผ่านขั้นตอนต่างๆเพื่อที่จะทำให้เศษขวดพลาสติกนั้นกลับกลายเป็นถึงพลาสติกใหม่ เสื้อผ้า หรือ ผลิตภัณฑ์พลาสติกอื่นๆได้ มันคือวิธีที่ดีสำหรับการกำจัดขยะ แต่ยังมีอีกทางเลือกหนึ่งที่ดีกว่านั้น นั่นคือ อัพไซคลิ้ง การพัฒนาเศษวัสดุอย่างสร้างสรรค์ให้มีมูลค่า และสามารถนำมาใช้ทดแทนการใช้วัสดุบริสุทธิ์

การพัฒนาเศษวัสดุอย่างสร้างสรรค์ให้มีมูลค่าจะมีความยั่งยืนกว่าการนำกลับมาใช้ใหม่ รวมถึงการนำขยะไปฝังกลบ ในระยะยาว ปัญหาการลดลงของแหล่งวัตถุดิบของโรงงานอุตสาหกรรมจะเป็นสาเหตุของปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคม

วัสดุที่นำกลับมาใช้ใหม่ เช่นพลาสติก โลหะ กระดาษ ส่งผลให้คุณภาพเดิมของวัสดุลดลง เรียกว่า ดาวน์ไซเคิล กระบวนการนี้สามารถช่วยลดของเสียโดยรวมได้ แต่ผลลัพท์ที่ในเรื่องของคุณภาพส่วนใหญ่อาจไม่ดีเท่าเดิม ยกเว้นอลูมิเนียมที่สามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่โดยที่ยังคงคุณภาพ

Stone wool
0

of our stone wool is made from upcycled waste

Stone material
0

The Earth produces 38,000 times more stone material than is used to make
ROCKWOOL stone wool annually*

การพัฒนาเศษวัสดุอย่างสร้างสรรค์ให้มีมูลค่า (อัพไซคลิ้ง) สำหรับภาคอุตสาหกรรม

ถึงแม้ว่าวัตถุดิบหลักที่ใช้ในกระบวนการผลิตฉนวนหินภูเขาไฟร็อควูลคือ ทรัพยากรที่มีมากที่สุดในโลก แต่กลุ่มร็อควูลก็ยังให้ความสำคัญในการพัฒนาเศษวัสดุอย่างสร้างสรรค์ให้มีมูลค่า (อัพไซคลิ้ง) สำหรับภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากเทคโนโลยีที่ทันสมัยของเรา จึงทำให้เราสามารถพัฒนาของเสียที่ได้จากอุตสาหกรรมอื่นๆ และนำกลับมาเป็นวัตถุดิบต่อไปได้ โดยเฉลี่ยแล้ว ประมาณหนึ่งในสามส่วนของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตฉนวนหินภูเขาไฟร็อควูล คือวัสดุที่มาจากการพัฒนาเศษวัสดุอย่างสร้างสรรค์ให้มีมูลค่า รวมถึงกากแร่จากกลุ่มอุตสาหกรรมโลหะ และ ตะกอนจากโรงงานบำบัดน้ำเสีย ซึ่งหมายความว่า แทนที่กากแร่ หรือ ตะกอนเหล่านี้จะถูกส่งไปทิ้งฝังกลบเป็นขยะ แต่กลับกลายเป็นการนำเอาขยะที่ไม่มีมูลค่ามาเปลี่ยนเป็นวัตถุดิบในการผลิตฉนวนหินภูเขาไฟร็อควูล ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ในการยกระดับคุณภาพและประสิทธิภาพของอาคารให้มีความสะดวกสบายและประหยัดพลังงานมากขึ้น

เทคนิคของเราในการนำเอาหินที่ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่มีมากที่สุดในโลก มารวมกับเศษวัสดุเหลือใช้ หรือ ขยะ ด้วยกระบวนการพัฒนาเศษวัสดุอย่างสร้างสรรค์ให้มีมูลค่า (อัพไซคลิ้ง) ส่งผลกระทบในเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อม มากกว่าผลิตภัณฑ์ที่ทำจากวัสดุรีไซเคิล 100 เปอร์เซ็นต์

 

* T. W. Dahl, et al. 2011, International Geology Review (Volume 53 Numbers 7-8, June-July 2011) ‘The human impact on natural rock reserves using basalt, anorthosite, and carbonates as raw materials in insulation products’

เจาะลึกผลิตภัณฑ์ของเรา

เรื่องที่เกี่ยวข้อง